“โรงพยาบาลเอกชน” คุณค่าคู่สังคม…ทีถูกมองข้าม คำกล่าวนี้ไม่ผิดไปจากข้อเท็จจริง ทีได้นำเสนอต่อ สาธารณชนใน 7 ประเด็นตลอดสัปดาห์ทีผ่านมา ซึงช่วยสะท้อนภาพให้สังคมรับรู้ว่าอีกด้านของ “ค่าบริการรักษา พยาบาลทีสูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ” จนมีการร้องเรียนให้ควบคุมนั้น เป็นเพราะโรงพยาบาลเอกชนแบกรับภาระ ต้นทุนในด้านต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก โดยทังหมดมีคุณภาพชีวิตทีดีอย่างยังยืนของผู้ป่วยเป็นทีตัง และมีเป้าหมาย ช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น “ศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติ” หรือ “เมดิเคิล ฮับ” (Medical Hub) ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลเอกชนก็แบ่งกำลังส่วนหนึ่งร่วมจัด “กิจกรรมเพื่อสังคม” หรือ “CRS” ด้วยหวังว่าจะ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยยากไร้เข้าถึงการรักษาทีดีและมีคุณภาพ ทัดเทียมกับผู้ทีมีปัจจัยพร้อมจ่าย ดังนั้น หากไล่เรียงถึงความสำคัญของโรงพยาบาลเอกชนทีมีต่อสังคมไทยแล้ว คงต้องเริมตังแต่การช่วยแบ่งเบา ภาระของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ “การลงทุน” ทีช่วยรัฐบาลประหยัดงบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยไม่ต้องใช้งบสร้างโรงพยาบาลและจัดสรรงบเพื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์เองปีละกว่า 2.26 แสนล้านบาท ซึง เป็นมูลค่าสินทรัพย์รวมของบริษัททีจดทะเบียนเป็นโรงพยาบาลเอกชนทังประเทศกว่า 478 บริษัท (กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า 2556) รวมถึงค่าเสือมสินทรัพย์ถาวรทีโรงพยาบาลเอกชนต้องรับภาระเองถึงปีละ 6.64 พันล้านบาท เพื่อสามารถทำการรักษาประชาชนได้จำนวนเท่าเดิม (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2549) อีกทังยังเป็นทีรองรับแพทย์ พยาบาลทีไม่อยากทำงานในภาครัฐ ด้วยสาเหตุต่างๆแทนการออกจากอาชีพไปทำอย่างอื่น นอกจากนี้ โรงพยาบาลเอกชนยังจ่ายภาษีกลับคือไปให้รัฐในรูปภาษีนิติบุคคล 4.4 พันล้านบาท ภาษีเงินได้ของ แพทย์ 1.02 พันล้านบาท และภาษีเงินได้พนักงาน 2 พันล้านบาท รวมกันต่อปีไม่ต่ำกว่า 7.4 พันล้านบาท เพื่อนำไป อุดหนุนพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศในอีกทอดหนึ่ง ทังยังเกิดการ “จ้างงาน” ซึงคาดว่าปัจจุบันโรง พยาบาลเอกชนจ้างงานบุคลากรทังระบบมากกว่า 2 แสนคน (สมาคมโรงพยาบาลเอกชน 2558)
ด้าน “การรักษาพยาบาล” ด้วยจำนวนเตียง 33,791 ใน 326 โรงพยาบาล ทีมีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้โรงพยาบาล เอกชนมีศักยภาพช่วยดูแลสุขภาพของประชาชนได้กว่าร้อยละ 25 ของประเทศ เฉพาะแค่ในเขตกรุงเทพและ ปริมณฑลสามารถแบ่งเบาการรักษาพยาบาลได้มากถึงร้อยละ 60 อีกทังยังเข้าร่วมนโยบายของรัฐใน 4 โครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลมากขึ้น และ ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลของรัฐ โดยข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมและสมาคมโรงพยาบาลเอกชนในปี 2555 ระบุว่า ระบบประกันสังคม มีโรงพยาบาลเอกชน 89 แห่ง เข้าร่วมให้การรักษาประชาชนทีมีสิทธิในระบบดัง กล่าวทัง 10.5 ล้านคน โดยร้อยละ 51 เลือกรักษากับโรงพยาบาลเอกชน ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มี โรงพยาบาลเอกชนร้อยละ 20.8 เข้าร่วมให้การรักษา ระบบกองทุนทดแทนแรงงาน มีโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วม ให้การรักษาสูงถึงร้อยละ 79.8 และระบบกองทุนข้าราชการและครอบครัว ทีผู้มีสิทธิส่วนใหญ่จาก 4.6 ล้านคน เลือกมารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลเอกชน ก่อนไปเบิกค่ารักษากับกรมบัญชีกลาง ล่าสุด สมาคมโรงพยาบาลเอกชนได้ร่วมมือกับรัฐออกแบบ “การรักษาพยาบาลเร่งด่วน” แก่ผู้ป่วยกรณีเหตุ ฉุกเฉินสีแดงทีอาจถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาทีทันท่วงที โดยโรงพยาบาลเอกชนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เป็นปรกติอยู่นานแล้ว กองทุนทังสามทีรัฐบาลตั้งขึ้นจะช่วยได้มากหากให้ความสำคัญด้านการจัดสรรงบประมาณที เพียงพอเป็นสิงเร่งด่วนอันดับต้น ๆ (Priority) พอๆกับอยากให้นโยบายนี้เป็นจริง จากผลการประเมินของนัก วิชาการจากรามาธิบดี วงเงินทีใช้ไม่เกิน 600 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ทำไมถึงบริหารสามปีไม่สำเร็จ ก่อให้เกิดความ ขัดแย้งนานัปการไปทั่ว โรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่ง ทีมีต้นทุนต่างๆ กันพร้อมทีจะเข้าร่วมโดยสมัครใจ ถ้าไม่ให้ พวกเขาประสบภาวะขาดทุนแบบไร้เหตุผล อีกบทบาทโรงพยาบาลเอกชนยังสามารถ “สร้างรายได้” เข้าประเทศไทยปีละกว่า 7 หมืนล้านบาท จากตลาดการ ท่องเทียวเชิงสุขภาพตามนโยบายพัฒนาประเทศไทยให้เป็น “ศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติ หรือ “เมดิ เคิล ฮับ” ทีมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1.4 แสนล้านบาท (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2555) โดยปัจจุบันพบว่ามีผู้รับการบริการ เป็นชาวต่างชาติมากถึง 1.2 ล้านครังในปี 2557 (ติดตามรายละเอียดได้ในโลกสีขาว ตอน 7 ที www.thaiprivatehospitals.org) รวมทังยังได้รับเกียรติจากกลุ่มราชนิกูลชั้นสูงของภูฏานและบรูไน เดินทางเข้ามา รักษาด้วยเช่นกัน การมุ่งพัฒนาไปสู่เมดิเคิล ฮับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้ เชียวชาญ บุคลากรของโรงพยาบาลทีมีประสบการณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ทีทันสมัย และการบริการทีเป็น เลิศ ควบคู่ไปกับการรับรองคุณภาพระดับสากลจากสถาบันต่างประเทศ เช่น JCI ของสหรัฐฯ และ DNV GL จาก กลุ่มประเทศแถบยุโรป เป็นต้น (ดูรายละเอียดในโลกสีขาว ตอน 6 ที www.thaiprivatehospitals.org ยังทำให้เกิด ปรากฏการณ์ดึงแพทย์ไทยในต่างประเทศให้กลับมาทำงาน ซึงบุคลากรทางการแพทย์ชันนำเหล่านี้ นอกจากกลับ มาช่วยรักษาคนไข้แล้ว บางส่วนยังผันตัวเป็นอาจารย์แพทย์ถ่ายทอดความรู้ความเชียวชาญ ช่วยพัฒนาวงการ แพทย์ไทยให้ก้าวไกลไปอีกระดับ ทั้งหมดนี้ตอกย้ำว่า สิงทีโรงพยาบาลเอกชนทำให้กับสังคม เป็น “ทางเลือก” ของการรักษาพยาบาล นอกเหนือไป จากการพึงพาโรงพยาบาลของรัฐ ทีมีความจำกัดทังด้านปริมาณ ช่วงเวลาเปิดให้บริการ ความสะดวกสบาย และ ความทันสมัยของอุปกรณ์ทีใช้รักษา ฯลฯ ซึงถ้าหากสังคมไม่อคติจนเกินไป รัฐมีแผนแม่บทในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของชาติทีดี มีการแบ่งงานกันทำ ระหว่างโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน ประเทศก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะการให้คนไทยได้รับ บริการด้านสาธารณสุขทีดีเทียบเท่ากับประเทศทีเจริญแล้วอย่างแท้จริงเป็นความมุ่งหวังของชาติ แต่ปัจจุบัน ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ปี 2010 พบว่า ประเทศมาเลเซียใช้เงินด้านสาธารณสุขแก่ ประชากรตกคนละ 641 เหรียญสหรัฐ หรือราว 22,300 บาท ในวงเงินนี้ ประชาชนร่วมจ่ายครึ่งหนึ่ง ในขณะที ประเทศไทยใช้เพียงหัวละ 330 เหรียญสหรัฐ หรือ 11,100 บาท ต่อประชาชนร่วมจ่ายหนึ่งในสี และถ้าหากเรา ต้องการคุณภาพสูงกว่าปัจจุบัน ในระดับมาเลเซีย คือหัวละ 600 เหรียญและไม่ต้องการผู้ใช้บริการทุกระดับควักเงิน ร่วมจ่ายเลยนั้น รัฐอาจต้องเพิ่มเงินงบประมาณอุดหนุนในเรืองสาธารณสุขของชาติรวมกันแล้วปีละไม่ต่ำกว่า 1.2 ล้านล้านบาท หรือกว่าร้อยละ 50 ของงบประมาณประเทศ
คำถามจึงขึ้นว่า ประเทศไทยสามารถทำเช่นนั้นได้จริงหรือ? หรือในอีกทางจะยอมใช้งบประมาณเท่าทีมี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปยังคงไว้ซึงสิทธิในการเข้าถึงการรักษาทีมีคุณภาพจากรัฐ และให้คนทีมีฐานะ สามารถใช้สิทธิและเงินของตัวเอง ในการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลเอกชนในประเทศได้ ซึงดีกว่า ปล่อยให้เดินทางออกไปรักษายังต่างประเทศ เพราะนั้นหมายถึงเม็ดเงินทีจะกลับคืนมายังระบบ สาธารณสุขของประเทศหลุดลอยไป และยังทำให้โอกาสในการพัฒนาวิทยาการทางกาแพทย์ของไทย ลอยไกลตามไปด้วย.