“เทคโนโลยีทางการแพทย์” ก้าวที่กล้าลงทุน ยกระดับโรงพยาบาลเอกชนไทยสู่สากล
เพราะคำนึงถึง “ชีวิต” ของ “ผู้ป่วย” เป็นหลัก ทำให้ตลอดระยะเวลาทีผ่านมาและจากความได้เปรียบทางความคล่องตัว ในการลงทุน “โรงพยาบาลเอกชน” หลายแห่ง จึงสามารถเลือกสรรเทคโนโลยีทางการแพทย์ทีทันสมัยได้มาตรฐานสูง เข้ามาเสริมประสิทธิภาพในการรักษาให้แก่คน ไข้ จนสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดในการรักษาทีเคยเป็นอุปสรรคในอดีต ทังช่วยร่นระยะเวลาการรักษาและลดผลข้างเคียง ซึงหมายถึงอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยไทยและคนในภูมิภาคนี้ทีมีกำลังซื้อ มีทางเลือกในการเข้า ถึง นวัตกรรม เทคโนโลยี และเครื่องมือทางการแพทย์ทีทันสมัยในประเทศไทยแทนที่อื่น จนปัจจุบัน กล่าวได้ว่า โรง พยาบาลเอกชนของไทยมีศักยภาพในการรักษาผู้ป่วย เทียบเท่ากับโรงพยาบาลชันนำทั่วทุกมุมโลก โดยล่า สุดในเดือน มี.ค.2558 ทีผ่านมาเว็บไซต์ ontoplists.com ได้จัดให้ “โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์” เป็น โรงพยาบาล อันดับที9จาก10โรงพยาบาลทีให้การรักษาดีทีสุดโนโลก (Top 10 Hospitals In The World) ด้วยอัตราค่า บริการทีมีราคาถูกกว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ทีกล่าวถึงนั้น โรงพยาบาลเอกชนของไทยนำมาใช้ตังแต่ขันตอนการตรวจหา โรคจนสามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องและแม่นยำ ซึงนำไปสู่กระบวนการรักษาทีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ผู้ป่วย หลายรายจึงสามารถหายขาดจากโรคโดยไม่กลับมาเป็นอีก และกลับไปมีชีวิตปกติได้อีกครั้ง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ซึงเป็นกลุ่มโรคทีเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทยและประชากรโลก
กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ระหว่างปี 2554-2556 คนไทยมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2556 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 54, 530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน ขณะที โรคมะเร็งคร่า ชีวิตคนไทยมากทีสุดเป็นอันดับ1มากว่า 13 ปี นับตังแต่ปี 2543 โดยพบยอดผู้ เสียชีวิตในปี 2556 จำนวน 67,184 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน โดยมีอัตราเฉลี่ยเสียชีวิตเพิ่มปีละ 3,000 คน สร้างความสูญเสียให้เศรษฐกิจไทยมากถึงปีละ 80,000 ล้านบาท แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้ทุกวันนี้ในส่วนของโรคมะเร็งสามารถตรวจพบโรคและระยะของโรคได้ รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ด้วยการทำ PET/CT Scan ซึงสามารถวิเคราะห์ความผิดปกติของเซลล์ได้ในระดับเมตาบอ ลิซึม พร้อมบอกตำแหน่งทีผิดปกติและระยะอาการของโรคได้แม่นยำ ฉะนั้น การตรวจพบโรคในระยะแรกและรักษาผู้ ป่วยจนหายขาดจึงเป็นไปได้มากขึ้นด้านการรักษาโรคมะเร็งก็ทำได้โดยนวัตกรรมใหม่อย่าง Linear Accelerator (Linac) หรือ เครื่องฉายรังสีแบบเร่งอนุภาค ซึงช่วยในการฉายแสงก้อนมะเร็งทีต้องการความแม่นยำ สูงทังทีอยู่ลึกและตำแหน่งตื่น เช่น มะเร็งสมอง ลำคอ ต่อมลูกหมาก และปอด โดยให้ประสิทธิผลดีและมีผลข้างเคียง น้อยกว่าเครื่องโคบอลต์ 60 นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีอื่น ๆ ทีสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที มีโอกาสรอดชีวิตสูง และสูญเสียน้อยลง เช่น Echocardiography หรือ คลื่นเสียงสะท้อนความถีสูง ทีช่วยให้แพทย์มองเห็นกายวิภาคของหัวใจได้ละเอียด สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจได้เกือบทุกประเภทและไม่ก่ออันตรายต่อผู้ป่วย Cardiac Catheterize Lab หรือห้องปฏิบัติ การสวนเส้นเลือดหัวใจทีมีเครื่องมือประสิทธิภาพสูงในการประมวลหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รวมทังใส่ขดลวดถ่างขยาย หลอดเลือด หรือ Stent ซึงช่วยลดจำนวนการผ่าตัดใหญ่และความเสียง จากผลข้างเคียง ทำให้ผู้ป่วยฟืนตัวได้ เร็วขึ้นกว่าเดิมมากเทคนิคทีทันสมัยเหล่านี้ ยังนำมาซึงความสำเร็จใหม่ ๆ ในการรักษาโรคอีกหลายชนิด การผ่าตัดผ่านกล้องหรือแผลเล็ก ตังแต่โรคทีมีความซับซ้อน เช่น กระดูกคอและกระดูกสันหลัง การผ่าตัดผ่านกล้องในระบบสามมิติของเนืองอกมดลูก เป็นต้น รวมไปถึงการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ขณะทีการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจรวมไปถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เทคโนโลยีทางการแพทย์ Magnetic Resonance Imaging(MRI) หรือ เครื่องเอ็กซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุความเข้มข้นสูง สามารถสร้างภาพอวัยวะ ภายในร่างกายได้คมชัดเสมือนจริงแบบ 3 มิติทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ และไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ แก่ร่างกาย ทังยังไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง
ทั้งนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ทีทันสมัยในข้างต้น มักอยู่ในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชน ขนาดใหญ่ ซึงประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มประกันสังคมและประกันตนสามารถเข้าถึงได้ เนืองจากมีการแบ่งปันให้ โรงพยาบาลต้นสังกัดสามารถส่งตัวเข้ารับการรักษา โดยคิดอัตราค่าบริการแบบเป็นมิตร การมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ทีทันสมัยตลอดเวลา จำเป็นต้องทำควบคู่กับความรู้ ความเข้าใจ โดยแพทย์และ บุคลากรทีมีความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นอย่างยิงทีโรงพยาบาลต้องมีแผนงานด้านคุณภาพและความปลอดภัย ทัง ในการดูแลสภาพมาตรฐานของเครื่องมือให้พร้อมใช้ และความปลอดภัยในการใช้ ทีล้วนมีข้อกำหนดในมาตรฐานความ ปลอดภัยต่อผู้เกี่ยวข้องตามมาตรฐานของสถาบัน JCI ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระบบดังกล่าวเป็นรากฐานในการสร้าง ความเชื่อมันให้กับแพทย์และบุคลากรด้านการแพทย์ทังหมด โดยเฉพาะในการดึงดูดให้แพทย์ไทยในต่างประเทศ สามารถกลับมาทำงานในประเทศไทย ภายใต้ระบบทีทันสมัยและปลอดภัยทัดเทียมกับในประเทศทีมีวิทยาการด้านการ แพทย์ชั้นนำ จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ Reverse Brain Drain ของบุคลากรทางการแพทย์กลับไทย การสั่งสมความสามารถและประสบการณ์ของโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ นับเป็นคุณค่าต่อวงการแพทย์และประชาชน ไทย สร้างทางเลือกในการให้บริการทีนอกเหนือจากสิทธิในระบบปกติ หรือลดจำนวนการเดินทางไปรักษากับแพทย์ใน ต่างประเทศ ซึงล้วนเป็นต้นทุนจำนวนมหาศาลทีภาคเอกชนได้ลงทุนอย่างต่อเนืองให้กับสังคมไทยเสมอมา และเป็น คุณค่าคู่สังคมทีอาจถูกมองข้ามไป
ขณะทีคาดว่าอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชนทังระบบมีการลงทุนในด้านเครื่องมือและสถานทีปีละกว่า 6,000 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมการลงทุนในการสร้างโรงพยาบาลใหม่ ซึงทังหมดล้วนเป็นผลดีทีเกิดขึ้นกับวงการแพทย์ไทยในฐานะ สถานพยาบาลทางเลือกทีให้ความสะดวกรวดเร็วและไม่แออัดในการรับบริการ รวบรวมไว้ด้วยแพทย์ทีมี ศักยภาพและความชำนาญ ความทันสมัยของเทคโนโลยีในการวินิจฉัยรักษาทีกระชับแม่นยำ บริการทีได้ มาตรฐาน ในราคาสมเหตุสมผลตามต้นทุนทีแท้จริง สร้างการเติบโตของตลาดทีมันคงและรายได้เข้าประเทศ จากผู้ป่วยทีเดินทางมาจากทั่วโลก ทังที 100% ของประชาชนไทยมีความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลทีไม่ต้องจ่ายเงินตามทีรัฐกำหนดให้ อยู่แล้ว แต่ก็มีประชาชนไทยจำนวนไม่น้อยตังใจ และเลือกทีจะมาเสียค่าใช้จ่ายเองในการรับบริการตรวจ รักษาแบบผู้ป่วยนอกหรือแบบผู้ป่วยในหรือผ่าตัด หรือทำคลอดในโรงพยาบาลเอกชนหลายๆ ระดับทั่วประเทศ