มากไปกว่าเม็ดเงินมหาศาลที่จะได้รับ หากการแพทย์ในประเทศนั้น ๆ พัฒนาก้าวไกลจนสามารถเป็น “ศูนย์ กลางบริการสุขภาพนานาชาติ” หรือ “เมดิเคิล ฮับ” (Medical Hub) คือ “ชื่อเสียง” และ “ความน่าเชื่อถือ” อันเป็น แรงดึงดูดระยะยาวให้ผู้คนที่มีกำลังซื้อสูงจากนานาประเทศเดินทางเข้ามารักษาพยาบาล จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เกือบทุกประเทศบนโลก ที่มีศักยภาพและคุณภาพทางการแพทย์เป็นเลิศ จะพยายามผลักดัน ตัวเองเพื่อเป็นเมดิเคิล ฮับ ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มประเทศในเอเชียและอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลี โดยในบางประเทศถึงกับกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันขับเคลื่อน อย่างเต็มตัว ในที่นี้รวมถึง “ประเทศไทย” ด้วย
แม้ว่าสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีปัจจัยเอื้อต่อการเป็นเมดิเคิล ฮับ มากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจากมีพร้อมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ต่อหัวของ ประชากร คุณภาพคน ต้นทุนการทำธุรกิจ เวลาในการจัดตั้งธุรกิจ ตลาดท่องเทียว ฯลฯ ที่ล้วนอยู่บนอันดับบนสุด (ศูนย์เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรมหาวิทาลัย 2555) และเดินทางล่วงหน้าสู่การเป็นเมดิเคิล ฮับ ตั้งแต่ปี 2540 โดยมีชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงนับแสนคนเดินทางไปรักษา
มองกลับมาที่ประเทศไทย รัฐบาลเริ่มปูทางสู่การเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติเมื่อ ปี 2547 โดยเป็น ยุทธศาสตร์ประเทศ และมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพหลัก มีเป้าหมายเป็นการยกระดับคุณภาพ มาตรฐานการบริการสุขภาพในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ตามสิทธิที่มีอยู่ เลยไปถึงการให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ารับบริการสุขภาพ สร้างรายได้ให้แก่อุตสาหกรรมหลักและที่เกี่ยวเนื่องด้วยต้นทุนความเป็นเลิศในการให้บริการเทคโนโลยี บุคลากรที่มีความเชียวชาญ ราคาเหมาะสมหรือไม่ก็ถูกกว่าใน ระดับมาตรฐานการบริการเดียวกัน ฯลฯ
จนปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ไทยสามารถไต่อันดับแซงหน้าสิงคโปร์ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในเรื่อง เมดิเคิล ฮับ (อ้างอิงจากนิตยสาร Forbes ,19 สิงหาคม 2557) ด้วยปริมาณการเข้ารับการรักษาแค่เฉพาะชาวต่างชาติในปี 2557 มากถึง 1.2 ล้านครัง (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) และสร้างรายได้ ให้กับประเทศมากถึง 1.4 แสนล้านบาท ในปี 2555 โดยมีตัวแปรสำคัญเป็น “โรงพยาบาลเอกชน” ที่มีรายได้ รวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 55% ส่วนที่เหลือเป็นเงินที่ได้จากบริการท่องเทียวเชิงสุขภาพ 5 หมื่นล้านบาท และการส่งเสริมสุขภาพอีก 2 หมื่นล้านบาท (บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย) นั้นเท่ากับแสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลเอกชน เป็นส่วนสำคัญของแผนงาน เมดิเคิล ฮับ ภายใต้การชูธงของรัฐบาล
นอกจากนี้ การมุ่งไปสู่การเป็นเมดิเคิล ฮับ ยังสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศอีกหลากหลาย ที่เห็นได้ชัดคือการ พัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็น ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์
สุขภาพ (Product Hub) หรือแม้แต่การเป็น ศูนย์กลางการประชุมวิชาการและจัดนิทรรศการทางการแพทย์ (Medical MICE) อันจะนำวิทยาการทางการแพทย์และเม็ดเงินไหลเข้าประเทศในแบบคูณทวี
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะโรงพยาบาลเอกชนไทยไม่เคยหยุดยังการพัฒนาในเรื่องมาตรฐานการรักษาที่ปลอดภัย พร้อม เน้นใช้วิทยาการทางการแพทย์ที่ลำสมัยจนได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล Joint Commission International Quality Approval หรือ JCI จากสหรัฐฯถึง 44 แห่งในปี 2558 นอกจากนี้ยังผ่านการรับรอง มาตรฐานคุณภาพระดับสากลของกลุ่มประเทศยุโรป DNV GL Hospital Accreditation หรือ DNV GL เป็นแห่งแรกในอาเซียน ในปี 2558 ขณะเดียวกันมีโรงพยาบาลเอกชนผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศ Hospital Accreditation หรือ HA มากถึง 91 แห่ง (สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์กรมหาชน 2556)
อย่างไรก็ดี หากต้องการให้โรงพยาบาลเอกชนเดินหน้าเต็มสูบเพื่อพาประเทศไทยไปสู่การเป็น เมดิเคิล ฮับ อย่างแท้จริงและยั้งยืนนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระด้านสาธารณสุขของประเทศและโรงพยาบาลของรัฐ จำเป็นต้องปลดล็อคข้อจำกัดในหลายด้าน และรัฐต้องวางยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ รวมถึงให้การสนับสนุนที่มากกว่า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่น พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ ด้วยการขยายเวลาพำนักในประเทศเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นระยะเวลา 90 วัน แก่ผู้ป่วยและผู้ติดตามรวมไม่เกิน 4 ราย สำหรับ กลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ 6 ประเทศ ที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นกลุ่มลำดับต้น ๆ ที่มัก เดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทย หรือแม้แต่การพัฒนาให้โรงพยาบาลเอกชนมีส่วนผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ให้เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากรายงานสถิติทางด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2554 พบว่า ในช่วง 10 ปีทีผ่านมา ตั้งแต่ปี 2543-2553 ประเทศไทยยังมีบุคลากรด้านสาธารณสุขเทียบกับจำนวนประชากร 10,000 คนอยู่จำนวนน้อย เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีแพทย์เพียง 3 คน ต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งอยู่ในอันดับ 7 และมีพยาบาล เพียง 15.2 คน กับเภสัชกร 1.2 คนซึงเป็นอันดับที่ 6 ต่างจากประเทศสิงคโปร์ที่มีแพทย์สูงถึง 18.3 คน ต่อ ประชากร 10,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ส่วนฟิลิปปินส์มีพยาบาลมากที่สุด 60 คน และเภสัชกรมากที่สุด 6.1 คน ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเดนมาร์คมีแพทย์ต่อประชากรมากถึง 34.2 คน และมีพยาบาลสูงสุด 145.4 คน ซึ่งสูงกว่าสหรัฐฯ อังกฤษ หรือแม้แต่ญี่ปุ่น ด้านสหรัฐฯ มีเภสัชกรมากที่สุดที่ 8.8 คน ต่อประชากร 10,000 คน โดย อาจผลิตผ่านการอบรมหลักสูตรวิชาชีพ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ รวมถึงยกเลิกการฟ้องร้องคดีอาญาแก่บุคลากรทางการแพทย์และควบคุมเพดานการฟ้องร้องทางแพ่งที่เหมาะสม เพราะไม่มีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์คนใดอยากให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งโดยส่วนมากล้วนเกิดจากเหตุสุดวิสัย หากสามารถแก้ไขได้การแพทย์ของไทยจะเข้าสู่ความเป็นสากล สอดรับต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปลายปี 2558 ที่จะถึงนี้ ที่สำคัญคือไม่ควร “ควบคุมราคา” ค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชน โจทย์นี้นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากต้นทุนของโรงพยาบาลแต่ละแห่งไม่เท่ากัน กลุ่มผู้เข้ารับบริการก็แตกต่างกัน เทคโนโลยีที่ใช้ก็แตกต่างกัน หากมีการควบคุมอย่างเข้มงวดแล้ว การพัฒนาย่อมไม่เกิด และประเทศไทยไม่สามารถเดินทางไปถึงการเป็น เมดิเคิล ฮับ ในภูมิภาคได้อย่างที่หวังไว้
ท้ายนี้ เน้นยำว่าการพัฒนาไปสู่การเป็น เมดิเคิล ฮับ ทั้งหมด ไม่กระทบต่อระบบบริการสุขภาพหลักของ ประเทศ และไม่กระทบกับสิทธิในการรักษาพยาบาลของประชาชนไทย เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงการ รักษาพยาบาลผ่าน 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนข้าราชการและครอบครัว